รู้จัก โรคหูด และสาเหตุการเกิด

โรคหูด เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า human papilllomavirus (HPV) เกิดที่ชั้นผิวหนังกำพร้า โดยที่หูดสามารถติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย และมักพบได้บ่อยในเด็กหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยที่เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายและมีการแบ่งเซลล์มากมายจนเกิดเป็นตุ่มแข็งที่บริเวณผิวหนัง

โรคหูด

สาเหตุการเกิดโรคหูด

เกิดได้จากร่างกายได้รับเชื้อไวรัส HPV และเชื้อไวรัส HPV นี้มีมากกว่า 100 ชนิด แต่ส่วนใหญ่ไม่อันตราย โดยปกติมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณมือหรือเท้า หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่หน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ​ แต่เชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกตามมา จากการวิจัยคนที่แมวโน้มเกิดหูดได้ง่ายกว่าคนอื่นคือ คนผิวดำและคนเอเชีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบุคคลบางอาชีพ (ผู้ที่มีอาชีพแล่เนื้อสัตว์)

โรคหูด

ชนิดของโรคหูดที่พบบ่อย

1.หูดชนิดทั่วไป พบบ่อยลักษณะนูนเป็นตุ่มแข็ง ผิวหยาบ ขรุขระ ออกเป็นสีเทา ๆ เหลือง ๆ หรือสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-10 มิลลิเมตร

2.หูดคนตัดเนื้อ มักพบที่บริเวณมือ ติดต่อจากคนสู่คน มักพบในอาชีพคนที่แล่เนื้อ แต่จะมีขนาดใหญ่และผิวขรุขระมากกว่า

3.หูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า มีลักษณธเป็นตุ่มนูน อาจรวมกันเป็นกลุ่มจนทำให้หูดดูมีขนาดใหญ่ มีความนูนผิวขรุขระ หยาบแข็งกว่าหนังธรรมดา

4.หูดชนิดแบนราบ มีลักษณะนูนขึ้นจากผิวเล็กน้อย มักพบหน้าผาก หลังมือ และหน้าแข้ง

5.หูดหงอนไก่ พบที่อวัยวะเพศภายนอกทั้งชายและหญิง มักติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ลักษณะจะเป็นเนื้องอกอ่อน มีสีชมพูและสีเนื้อ ขยายตามตัวรวดเร็วคล้ายหงอนไก่

6.หูดข้าวสุก มีลักษณะเป็นตุ่มกลม ผิวเรียบมัน ตรงกลางมีรอยบุ๋ม

โรคหูด

วิธีรักษาและวิธีป้องกันโรคหูด

โดยปกติผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะสามารถหายไปเองได หรือทายาแก้หูดมารักษาได้ ยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคตริก กรดไตรคลออะซิตริก หรือบางรายอาจใช้ไนโตรเจนเหลวจี้หูด เป็นวิธีที่กำจัดหูดได้แต่ต้องทำซ้ำหลายครั้ง ดังนั้นวิธีป้องกันโรคนี้คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสคนที่เป็นหูด แยกใช้ของใช้ส่วนตัว เลี่ยงการอาบน้ำเท้าเปล่าในที่สาธารณะ หลกเลี่ยงการทำเล็บกับร้านที่ไม่สะอาด ป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย

โรคหูดหงอนไก่ (กับ นพ.ทรงพล สนธิชัย)

อ่านบทความ ประโยชน์ของ โกโก้ ช่วยเรื่องอะไรบ้าง คลิกที่นี่